การสำรวจความพร้อมของพื้นที่

ความพร้อมของพื้นที่ที่จะทำการติดตั้งแผ่นฉนวนฯ

  1. หลังคาจะต้องเสร็จเรียบร้อย โดยไม่มีการเชื่อม, ทาสี และการขนย้ายเหล็ก ไปมาเหนือพื้นที่การทำงาน ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายได้
  2. พื้นที่จะต้องแห้ง, ไม่มีน้ำขัง, น้ำท่วมไม่ถึง
  3. พื้นที่จะต้องสะอาด ไม่มีเศษขยะ
  4. พื้นจะต้องเรียบ, ไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ, ไม่มีเศษคอนกรีตติดอยู่กับพื้น หากพื้นที่ไม่เรียบร้อยจะส่งผลให้การวางไลน์อลูมิเนียมและ ติดตั้งโฟมพื้นไม่แนบสนิทกับพื้นคอนกรีตและอาจส่งผลต่อการติดตั้ง
  5. ตรวจเช็คระยะเสาต่างๆ โดยรอบและภายในบริเวณพื้นที่ ว่ามีความตรง, ได้ดิ่ง, มีขนาดถูกต้องและอยู่ในแนวตรงกัน เนื่องจากเสาที่ไม่ได้สเป็คและระยะที่ถูกต้อง จะทำให้แนวการติดตั้งแผ่นฉนวนฯ และขนาดของห้องผิดไปจากแบบ
  6. ตรวจเช็คว่าโครงเหล็กสำหรับรองรับจุดหิ้วของแผ่นฉนวนเพดาน (โดยส่วนมากจะเป็นโครง Truss) ได้ระยะถูกต้องและไม่มีสิ่งกีดขวางที่จะขวางการแขวนจุดหิ้ว เพื่อที่จะให้จุดหิ้วสามารถรับน้ำหนักแผ่นฉนวนได้ดี
  7. เช็คระยะและระดับของพื้นที่ ที่ทำการ Drop ไว้สำหรับงานเป็นพื้นห้องเย็น และ Curb คอนกรีตที่ทำไว้ สำหรับไลน์ผลิตว่ามีความถูกต้องตรงตามความต้องการตามแบบหรือไม่
รับติดตั้งแผ่นฉนวน - IXL Panel

ความพร้อมของพื้นที่จัดเก็บแผ่นฉนวน ฯ

  1. ควรมีหลังคาเพื่อป้องกันฝน
  2. รถขนส่งสามารถเข้าถึงได้และการเคลื่อนย้ายแผ่นฉนวน จากรถไปยังจุดเก็บ ต้องสามารถทำได้
  3. จะต้องไม่มีน้ำท่วมถึง หรือมีแอ่งน้ำขัง
  4. ควรที่จะอยู่ใกล้พื้นที่ที่จะทำการติดตั้งมากที่สุด เนื่องจากการขนย้ายแผ่นฉนวนฯ ซึ่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่ จะใช้เวลามากและการขนย้ายโดยบุคคลที่ไม่มีความชำนาญหรือขนย้าย ในระยะทางไกล อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อแผ่นฉนวนฯ ได้ง่าย
  5. สถานที่จัดเก็บแผ่นฉนวนฯ ควรอยู่ห่างจากประกายไฟและวัสดุที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้
  6. ควรจะติดตั้งป้ายเตือน รวมทั้งตักเตือนคนงานที่ทำงานในบริเวณใกล้เคียง โดยห้ามสูบบุหรี่หรือทำให้เกิดประกายไฟ, ห้ามนั่งนอนและเดินบนแผ่นฉนวนฯ เป็นต้น
    การจัดวางแผ่นฉนวนฯ ไม่ควรที่จะกีดขวางการติดตั้งแผ่นฉนวนฯ ไม่ควรที่จะเคลื่อนย้ายแผ่นฉนวนฯ ไปมาหลายครั้ง

หมายเหตุ : พื้นที่ในการจัดเก็บแผ่นฉนวนฯ อาจเป็นพื้นที่สำหรับการติดตั้งแผ่นฉนวนฯ เอง

รับติดตั้งแผ่นฉนวน - IXL Panel

การติดตั้งแผ่นฉนวนสำเร็จรูป

  1. วัดระยะและตีเส้นวางไลน์สำหรับแนวผนัง
  2. สำหรับห้องเย็นให้ทำการทาเวทเทอร์โค้ทและปูแผ่นพลาสติกที่พื้น บริเวณไลน์ผนังที่จะขึ้น โดยให้กว้างประมาณ 10 เซนติเมตร ที่รอยต่อของพลาสติกปูพื้นให้ฉีดซิลแลนท์ (Butyl Mastic)
  3. ตัดอลูมิเนียมตามความเหมาะสม โดยจุดที่มีการเข้ามุม จะต้องตัดที่ 45 องศา (ฉีดซิลแลนท์ที่ได้อลูมิเนียมสำหรับวางไลน์งานห้องเย็น) แล้ววางไลน์และยึดอลูมิเนียมดังกล่าว กับพื้นคอนกรีตด้วยพุก (มาตรฐานบริษัทใช้พุกเหล็ก 1/4) โดยยึดทุกระยะ 40 เซนติเมตร
  4. คำนวณและกะระยะแผ่นฉนวนที่จะติดตั้งให้มีความเหมาะสม โดยแผ่นสุดท้ายที่ต้องจัดเข้ามุมควรที่จะมีขนาดความกว้างของ แผ่นมากกว่า 40 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย เพื่อความแข็งแรง
  5. นำแผ่นฉนวนฯ มาตัดให้ได้ขนาดตามความเหมาะสม (ตัด 45 องศา สำหรับเข้ามุม ทำบ่ารับฝ้าเพดาน สำหรับผนังรอบนอก)
  6. สำหรับห้องเย็นให้ทำการฉีดซิลแลนท์ที่รอยต่อแผ่นฉนวน (รอยต่อของแผ่นตัวเมีย) ยาวตลอดทั้งแนวการฉีดซิลแลนท์ ที่ถูกต้องจะฉีดเพียงแนวที่อยู่ทางฝั่งอุณภูมิบวกเท่านั้น
    6.1 ซิลแลนท์มีไว้สำหรับป้องกันความชื้นที่จะรัวเข้าสู่ห้องเย็น
    6.2 ซิลแลนท์มิใช่ฉนวนป้องกันการถ่ายเทของอุณหภูมิ ดังนั้นการฉีดซิลแลนท์มากเกินไป จนทำให้เนื้อแผ่นฉนวนไม่ชนกัน อาจทำให้ห้องเย็นรั่วได้
    6.3 ซิลแลนท์มิใช่กาวสำหรับประสานแผ่นฉนวน แต่เนื้อซิลแลนท์ที่มีความเหนียว และไม่แข็งตัวมีส่วนช่วยให้แผ่นฉนวนติดกันได้บ้างเล็กน้อย
  7. ยกแผ่นฉนวนขึ้น ติดตั้งด้วยความระมัดระวัง แผ่นฉนวนทีต่อกัน จะต้องให้แน่ใจว่า เนื้อฉนวนชนกันพอดี, ยึดแผ่นฉนวนที่ต่อเข้า ด้วยกันด้วยรีเวท หรืออาจจะใช้อลูมิเนียมท่อนเล็กๆ ยึดไว้ก่อนที่ จะทำการเก็บงานด้วยอลูมิเนียมจริง ช่วงเริ่มต้นที่ทำการขึ้นผนัง อย่างเดียว ควรจะยึดหรือค้ำผนังไว้กับสิ่งที่แข็งแรง เพื่อป้องกันแผ่นฉนวนล้ม เพราะแรงลม, พายุ และอื่นๆ
  8. โดยปกติการติดตั้งแผ่นฉนวนจะทำการติดตั้งเป็นแนวรูปตัวยู และขึ้นฝ้าเพดานตามเป็นระยะๆ เพื่อที่จะให้แผ่นฉนวนที่ขึ้น ไปแล้วมีการยึดค้ำกันเพื่อให้เกิดความแข็งแรงและสามารถจัดไลน์ให้ตรง และเหมาะสมได้ตั้งแต่เริ่มติดตั้ง ซึ่งจะลดปัญหาการแก้ไขงานในภายหลัง
  9. ก่อนการขึ้นฝ้าเพดาน ควรจะถ่ายระดับน้ำเพื่อให้ฝ้าเพดานที่จะขึ้นอยู่ในแนวระดับเดียวกัน
  10. ยึดและเก็บงานด้วยอลูมิเนียม Section ต่างๆ
  11. สำหรับห้องเย็นนั้น แนวรอยต่อของฝ้าเพดานกับผนังและหัวแผ่นของฝ้าเพดานด้วยกันเอง ควรจะเว้นระยะไว้ประมาณ 1-2 เซนติเมตร เพื่อทำการหยอดโพลียูรีเทน (ระวัง…โพลียูรีเทนจะมีการขยายตัวและอาจดันล้นออกมาตามรอยต่างๆ ควรจัดเก็บ ทำความสะอาดทันที เนื่องจากโพลียูรีเทนที่เลอะและแห้งบนผิวแผ่นฉนวน จะไม่สามารถเก็บและทำความสะอาดได้)

หมายเหตุ : ในส่วนของไลน์ผลิตอาหารที่ใช้แผ่นฉนวนความหนาไม่เกิน 4 นิ้ว และห้องมีอุณหภูมิบวก ไม่จำเป็นต้องฉีดซิลแลนท์

ฉนวนสำหรับพื้น

พื้นห้องเย็น จำเป็นต้องได้รับการปูฉนวนกันความร้อนที่มีค่าการรับแรงสูง เพื่อให้สามารถรองรับแรงกดทับได้มากเป็นพิเศษ วัสดุที่เหมาะสมที่ทาง บริษัท ไอเอ็กซ์แอล จำกัด นำเสนอ ได้แก่ โฟมฉนวน EPS ที่มีความหนาแน่น 24-32 กก./ลบ.ม. XPS หรือ Styrofoam SP และ PUR ที่มีความหนาแน่น 35-40 กก./ลบ.ม.

การปูพื้นจะเริ่มจากการทาน้ำยากันรั่วซึมเวทเทอร์โค้ท ลงที่พื้นคอนกรีตหรือพื้นฐานก่อนและปูทับด้วยพลาสติกหนา 0.32 มม. โดยส่วนที่ต้องปูซ้อนกันจะถูกยาแนวด้วย Butyl Mastic หรือ ซิลแลนท์ทุกแนวรอยต่อ เสร็จแล้วทำการปูแผ่นโฟมฉนวน ซ้อนกัน 2 ชั้น ให้ได้ความหนาที่เหมาะสมกับอุณภูมิห้อง จากนั้นเก็บงานตามแนวรอยต่อที่อาจมีร่องเปิดอยู่บ้างด้วยซิลแลนท์ หรือ PUR และปิดทับหน้าฉนวนพื้นด้วยคอนกรีต หรือ วัสดุที่ได้รับการอนุมัติจากผู้ออกแบบ ซึ่งงานส่วนนี้จะอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ดูแลงานอื่น (ไม่ได้อยู่ในขอบเขตงานของ IXL)

การเก็บงานและทำความสะอาด

  1. ควรทำความสะอาดผิวของแผ่นฉนวนและอลูมิเนียมด้วยผ้าชุบน้ำสบู่อ่อนๆ หรือน้ำมันซักแห้ง อย่าให้วัตถุมีคมหรือของหยาบ เช่น กระดาษทราย, สก็อตไบร์ท ในการขูดเพื่อทำความสะอาดคราบสกปรก (หากจำเป็นต้องใช้ทินเนอร์ในการทำความสะอาด ควรทำด้วยความระมัดระวังและทำเฉพาะจุดที่สกปรกจริงๆ เท่านั้น เนื่องจากทินเนอร์สามารถกัดสีผิวของแผ่นฉนวนได้)
  2. ฉีดซิลิโคนตามแนวรอยต่อต่างๆ โดยให้ระวังซิลิโคนเลอะผิวแผ่นฉนวน พื้นที่ที่จะฉีดซิลิโคนจะต้องไม่มีฝุ่นหรือคราบสกปรกเกาะติด เนื่องจากจะทำให้ซิลิโคนติดได้ไม่ดี การฉีดซิลิโคนสามารถทำได้ตั้งแต่ช่วงที่กำลังติดตั้งแผ่นฉนวน หรือ จัดทำภายหลังจากที่งานต่างๆ ได้ทำจบสิ้นแล้วก็ได้ ซึ่งสิ่งที่อยู่ในการพิจารณา คือ ระยะเวลาที่ต้องการใช้ สิ่งสกปรกที่อาจเกิดขึ้นระหว่างหรือภายหลังการฉีดซิลิโคน เช่น หากรู้ว่าจะมีการขัดพื้น ซึ่งทำให้เกิดฝุ่น ก็ไม่ควรที่จะฉีดซิลิโคน เพราะฝุ่นจะไปจับกับซิลิโคนที่ยังไม่แห้ง

รับติดตั้งห้องคลีนรูม

รับติดตั้งห้องไลน์ผลิต

รับติดตั้งห้องเย็น