แผ่นฉนวนกันความร้อน โพลีสไตรีน (EPS) โฟม EPS ไม่ลามไฟ เป็นฉนวนที่ได้รับความนิยมสำหรับแผ่นฉนวนสำเร็จรูป เนื่องด้วยคุณสมบัติความเป็นฉนวนที่ดีของ โฟม EPS ไม่ลามไฟ และอัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนัก ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูง โฟม EPS ไม่ลามไฟ ที่ใช้สำหรับแผ่นฉนวน IXL มี 2 เกรด คือ พี – เกรด (มาตรฐาน) และ เอฟ – เกรด (ไม่ลามไฟ)
โฟม EPS ไม่ลามไฟ ชนิด เอฟ – เกรด มีส่วนผสมของ Flame Retardant Additive (FRA) ซึ่งประกอบด้วยสารที่สามารถยับยั้งการลามไฟ ซึ่งเปลวไฟจะดับเองเมื่อแหล่งกำเนิดไฟถูกทำลาย ส่วนความหนาแน่นของ โฟม EPS ไม่ลามไฟ ที่ใช้ทำแผ่นฉนวนประกอบด้วย ความหนาแน่นมาตรฐาน (SD) และความหนาแน่นสูง (HD) ซึ่งความหนาแน่นดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ของแผ่นฉนวนของ โฟม EPS ไม่ลามไฟ
คุณสมบัติทางกายภาพของฉนวนโพลีสไตรีน (EPS)
ฉนวนโพลีสไตรีน (EPS) โฟม EPS ที่มีความหนาแน่นมาตรฐาน (SD) มีความหนาแน่น 15 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (kg/m3) โฟม EPS เป็นฉนวนที่มีค่าการนำความร้อนต่ำ (K value) มีค่าเท่ากับ 0.032-0.036 วัตต์ต่อเมตร – เคลวิน (W/m.K @ 10 องศาเซลเซียส) ช่วงอุณหภูมิที่แนะนำในการใช้งานอยู่ที่ระดับ -50 องศาเซลเซียส ถึง 85 องศาเซลเซียส ฉนวนโพลีสไตรีน (EPS) โฟม EPS ที่มีความหนาแน่นมาตรฐาน (SD) แรงอัด มีค่าเท่ากับ 65-110 กิโลปาสคาล (kPa) แรงดึง มีค่าเท่ากับ 150-230 กิโลปาสคาล (kPa) แรงเฉือน มีค่าเท่ากับ 90-120 กิโลปาสคาล (kPa) ค่าการดูดกลืนน้ำอยู่ที่ระดับ 5% โดยปริมาตรของก้อน
ฉนวนโพลีสไตรีน (EPS) โฟม EPS ที่มีความหนาแน่นสูง (HD) มีความหนาแน่น 20 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (kg/m3) โฟม EPS เป็นฉนวนที่มีค่าการนำความร้อนต่ำ (K value) มีค่าเท่ากับ 0.031-0.035 วัตต์ต่อเมตร – เคลวิน (W/m.K @ 10 องศาเซลเซียส) ช่วงอุณหภูมิที่แนะนำในการใช้งานอยู่ที่ระดับ -50 องศาเซลเซียส ถึง 85 องศาเซลเซียส ฉนวนโพลีสไตรีน (EPS) โฟม EPS ความหนาแน่นสูง (HD) แรงอัด มีค่าเท่ากับ 100-160 กิโลปาสคาล (kPa) แรงดึง มีค่าเท่ากับ 225-325 กิโลปาสคาล (kPa) แรงเฉือน มีค่าเท่ากับ 120-150 กิโลปาสคาล (kPa) ค่าการดูดกลืนน้ำอยู่ที่ระดับ 4% โดยปริมาตรของก้อน
การทดสอบการลามไฟของฉนวนโพลีสไตรีน (EPS)
Combustility เป็นการทดสอบการลามไฟของวัสดุประเภทโฟม โดยใช้วัสดุที่ทำจากพลาสติกมาทดสอบดูว่าจะเกิดการลุกไหม้หรือติดไฟได้/ไม่ได้ ทดสอบความทนไฟ โดยดูว่าวัสดุนั้นๆ มีอัตราการลุกลามของไฟมากน้อยเพียงใด ทดสอบโดยมาตรฐานการทดสอบค่า Compressive Strength (มาตรฐาน ASTM D1621) จากสถาบัน Department of Science Service และจากภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี